หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิดเชิงคำนวณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แนวคิดเชิงคำนวณ
สาระสำคัญ
แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ว 4.2 ม.2/1 ออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาหรือการทำงานที่พบในชีวิตจริง
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของแนวคิดเชิงคำนวณได้ (K)
2. อธิบายองค์ประกอบของแนวคิดเชิงคำนวณได้ (K)
3. เขียนภาพการทำงานขององค์ประกอบแนวคิดเชิงคำนวณได้ (P)
4. สนใจใฝ่รู้ในการศึกษา (A)
กิจกรรมการเรียนรู้
1.ให้นักเรียนเปิดดูคลิป เรื่อง การคิดเชิงคำนวณกับชีวิตประจำวัน
2.นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง แนวคิดเชิงคำนวณ หรือจากอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม
แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่
1️⃣การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (Decomposition)
2️⃣การพิจารณารูปแบบ (Pattern Recognition)
3️⃣การคิดเชิงนามธรรม (Abstraction)
4️⃣การออกแบบอัลกอริทึม (Algorithm)
การแบ่งปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย(decomposition) เป็นการแตกปัญหาที่ขับซ้อนให้เป็นปัญหาย่อยที่มีขนาดเล็กลงและซับซ้อนน้อยลง เพื่อช่วยให้การวิเคราะห์และออกแบบวิธีการแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น
📁คลิกเพื่อเข้าสู่บทเรียน
การพิจารณารูปแบบ (pattern recognition)
เป็นการวิเคราะห์หาความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันระหว่างปัญหาย่อยที่แตกออกมา หรือความคล้ายคลึงกับปัญหาอื่น ๆ ที่มีผู้ออกแบบวิธีการแก้ไขไว้ก่อนแล้ว
📁คลิกเพื่อเข้าสู่บทเรียน
การคิดเชิงนามธรรม (abstraction) เป็นการแยกรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต่อการแก้ปัญหาออกจากรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ซึ่งรวมไปถึงการแทนกลุ่มของปัญหา ขั้นตอน หรือกระบวนการที่มีรายละเอียด ปลีกย่อยหลายขั้นตอนด้วยขั้นตอนใหม่
เพียงขั้นตอนเดียว
📁คลิกเพื่อเข้าสู่บทเรียน
การออกแบบอัลกอริทีม (algorithm) เป็นการพัฒนากระบวนการหาคำตอบให้เป็นขั้นตอนที่บุคคล
📁คลิกเพื่อเข้าสู่บทเรียน
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ใบงาน/แบบทดสอบ